วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติของซูชิ
ซูชิ (「寿司」 sushi – และมีการเขียนหลายแบบ ได้แก่ すし、鮨、鮓、寿斗、寿し、壽司?) หรือ ข้าวปั้นมีหน้า เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือ ของคาวชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น


ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น และซูชิก็ไม่น่าจะใช่อาหารญี่ปุ่นแท้ๆด้วยเชื่อกันว่าน่าจะนำเข้าจากเมืองจีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7เนื่องจากมีเอกสารโบราณเก่าแก่ของจีนกล่าวถึงอาหารประเภทที่มีหน้าตาเหมือนกับซูชินี้เอาไว้ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2 อาหารดังกล่าวเป็นปลาเค็มที่ใช้ข้าวเป็นตัวหมักจะนำมากินก็ต่อเมื่อปลาได้ที่แล้ว และกินเฉพาะแต่ปลาเท่านั้นส่วนข้าวนั้นเอาไปทิ้ง

อย่างไรก็ดี ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าซูชิอาจมีต้นกำเนิดมาจากแถบถิ่นเอเชียอาคเนย์บ้านเรานี้เองด้วยเหตุว่าประเทศเมืองร้อนแถบนี้ มีอาหารที่ถนอมหรือหมักด้วยข้าวหลากชนิด ยกตัวอย่างบ้านเราก็ปลาส้มนั่นไงเขาเลยไม่มองข้ามถึงความเป็นไปได้ตรงนี้เช่นกัน เดี๋ยวนี้มีตู้เย็นแล้วก็ไม่ต้องมาหมักกันกินทั้งข้าวทั้งปลานั่นแหละ อร่อยกว่ากันเยอะเลย


ซูชิ มีต้นกำเนิด จากอาหารไทย ?


ปลาส้มต้นกำเนิดซูชิ
เรื่องราวต้นของ กำเนิดซูชิ จากเว็บของสถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่าซูชิมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความใกล้เคียงกับปลาส้ม ที่นิยมรับประทานกันแถบภาคอีสานของไทยและประเทศลาว

ตามหาต้นกำเนิดซูชิในประเทศที่ร้อนตลอดปี
พิธีกรเดินทางไปเมืองไทยเพื่อตามหาต้นกำเนิดซูชิ เมื่อสอบถามพนักงานในร้านซูชิของไทยได้ความว่า ในภาคอีสานของไทยมีอาหารรสเปรี้ยวที่ทำจากปลาและข้าว พิธีกรจึงเดินทางไป จังหวัดขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย พบว่าปลาส้ม(ปลาที่มีรสเปรี้ยว)ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่มีมานานแล้ว ซึ่งเป็นที่กล่าวกันว่าคือต้นกำเนิดของซูชิ “ปลาส้ม” ทำจากการนำปลาน้ำจืด(ปลาแม่น้ำ)หมักกับเกลือสินเธาว์หนึ่งคืน จากนั้นบี้ข้าวเหนียวนึ่งลงไป แล้วทิ้งไว้ 3 วัน ระหว่างนั้นข้าวกับปลาจะทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดรสเปรี้ยว

เหตุ ที่บอกได้ว่าปลาส้มเป็นต้นกำเนิดซูชิ
ปลา ส้มเป็นอาหารหมักทำจากข้าวและปลา ซึ่งคล้ายกับ “ฟุนะซูชิ” ซูชิแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นมาก นักวิจัยญี่ปุ่นหลายคนค้นคว้าและสำรวจ เรื่องต้นกำเนิดของซูชิมานานแล้ว พบว่าอาหารหมักแบบปลาส้ม มักทำกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว หรือทางตอนใต้ของจีน นักวิจัยเชื่อว่าอาหารประเภทนี้ เข้ามาในญี่ปุ่นพร้อมกับวัฒนธรรมการทำนา ปลูกข้าวตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ “ฟุนะซูชิ” และพัฒนามาเป็นซูชิในปัจจุบัน


กว่าปลาส้มจะมาเป็นซูชิ
ในอดีตก่อนคริสตกาล อาหารหมักแบบปลาส้ม จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาในญี่ปุ่นพร้อมกับ วัฒนธรรมการทำนาปลูกข้าว จนกลายมาเป็น “ฟุนะซูชิ” ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานทั่วประเทศญี่ปุ่น จากเอกสารสมัยนาระ พบว่า “ฟุนะซูชิ” เป็นอาหารที่มีราคาแพงมักใช้จ่ายเป็นภาษี แต่เดิมไม่นิยมรับประทานข้าวที่ใช้หมักปลา กระทั่งสมัยมูโรมาจิ “ซูชิ” เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น เริ่มมีคนรับประทานข้าวที่ใช้หมักเพราะความเสียดาย แล้วพบว่าข้าวที่ใช้หมักนั้นซึมซับ ความอร่อยของปลาที่หมักเป็นอย่างดี ตั้งแต่นั้นมาการกินข้าวกับปลาหมักก็เป็นที่นิยมจนทำให้ “ซูชิ” เป็นอาหารที่มีชื่อเสียง



สมัยเอโดะ ชาวเอโดะไม่สามารถทนรอปลาที่ต้องใช้เวลาหมักนานได้ จึงใช้ “น้ำส้มสายชู” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหารที่ทำจากการหมักข้าว นำมาคลุกเคล้ากับข้าว จนได้รสชาดเช่นเดียวกับการหมักปลากับข้าว ทำให้เกิด “ซูชิ” ซึ่งทำจากข้าวคลุกน้ำส้มสายชู กับปลาจนเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน

ซูชิ เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือ ของคาวชนิดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซุชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น

ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น
"ซูชิ" นิยมหมายถึง นิงิริซูริ ที่เป็นข้าวมาอัดเป็นก้อนและมีเนื้อปลาวางบนด้านหน้าเท่านั้น
โดยลักษณะของซูชิ แบ่งออกเป็น 5 แบบคือ นิริงิซูชิ,มากิซูชิ,ชิราชิซูชิ,โอชิซูชิ,อินะริซูชิ

ที่มา

ต้นกำเนิดของซูชิมียาวนานกว่า 1000 ปี มีต้นกำเนิดจากการหมักข้าว กับ ปลาจนเกิดรสเปรี้ยว ซึ่งในสมัยนั้นการหมักปลา กับ ข้าวคือการถนอมอาหารอย่างนึง ชาวญี่ปุ่นโบราณอาศัยอยู่บริเวณแถบแม่น้ำบิวะ ซึ่งจัดเป็นทะเลน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นซึ่งได้จับปลาฟุนะและโรยเกลือไปทั้งตัว แล้วเรียงปลาซ้อนกันในถังไม้ ปิดฝา ใช้ของหนักกดทับไว้ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปีหรือยาวนานถึง 5 ปี เกลือจะซึมเข้าไปในเนื้อปลา หลังจากนั้นนำปลาออกมาแล้วใส่ข้าวสุกให้เต็มตัวปลา นำปลาเรียงในถังไม้ ข้างบนโปะข้าวสุกให้หนาและแน่น ปิดฝาและใช้ของหนักกดทับ ทิ้งไว้อีก 1 ปี แล้วจึงนำออกมารับประทาน เนื้อปลาที่ได้จะมีรสเปรี้ยวและเค็ม ชาวญี่ปุ่นถือว่าเป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ เพราะทำจากวัตถุดิบที่มีค่า เป็นสิ่งที่ธรรมชาติประทานให้ ซึ่งก็คือวัตถุดิบที่ใช้ คือ ข้าว ปลา และเกลือ แม้จะใช้เวลานานในกระบวนการหมัก แต่ผลที่ได้ก็คุ้มค่ากับการรอคอย

เมื่อกาลเวลาผ่านไป เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่น คนไม่อยากใช้เวลารอคอยการหมักซูชินานขนาดนั้น จึงใช้วิธีผสมน้ำส้มสายชูเข้ากับข้าวสุกเลยเพื่อให้ได้รสเปรี้ยว ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ซูชิเป็นอาหารศักดิ๊สิทธิ์ ทำไมชาวญี่ปุ่นจึงคิดเช่นนั้น

เหตุเพราะว่าสมัยก่อนชาวญี่ปุ่นไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เนื่องจากข้อห้ามทางศาสนาพุทธอาหารโปรตีนสำคัญที่ชาวญี่ปุ่นบริโภคกันก็คือปลาและสัตว์น้ำ นอกจากนี้ข้าวก็เป็นอาหารหลัก และเกลือที่ใช้ประกอบอาหารก็สำคัญมาก เป็นสินค้าเศรษฐกิจในทุกสังคม ดังนั้น ข้าว ปลา เกลือ จึงเป็นวิ่งที่มีคุณค่าสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต เป็นสิ่งหล่อเลี้ยง ชีวิตชาวญี่ปุ่นแต่ครั้งโบราณกาล เมื่อมีการเซ่นไหว้เทพเจ้า สามสิ่งนี้ รวมทั้งเหล้าซึ่งทำจากข้าวจึงเป็นของขาดไม่ได้ แม้ประวัติการทำซูชิจะมีในญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน จนคนเข้าใจว่าเป็นของดังเดิมของญี่ปุ่น แต่เมื่อนักประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นสืบค้นหาที่มาของซูชิก็พบว่า ญี่ปุ่นรับเอาวัฒนธรรม การรับประทานอาหารประเภทปลาหมักกับข้าวมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยและลาว การหมักปลามักทำกันแพร่หลาย

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องครัวที่ใช้



เสื่อไม้ไผ่สำหรับม้วน (Makisu)   มีขายตามร้านขายเครื่องปรุงอาหารญี่ปุ่น หรือในซูเปอร์มาร์เกตใหญ่ๆ ราคาไม่แพง เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการม้วนห่อสาหร่ายหรือไข่ยัดไส้ตำรับญี่ปุ่น

พัด (Uchiwa) ใช้พัดข้าวซูชิให้เย็น)


ชามไม้ใส่ข้าว  (Hangiri)   ให้ใช้ชามไม้ก้นตื้นปากกว้างเพื่อใส่ข้าวเพราะจะทำให้ข้าวเย็นลงเร็วขึ้นและมีรสชาติอร่อย ชามยิ่งปากกว้างเท่าไหร่ยิ่งดีเพราะท่านจะเขี่ยเม็ดเม็ดข้าวให้กระจายจากก้นได้มากขึ้น


ไม้พาย (Shamoji)   ไว้ใช้แผ่ข้าวให้เย็นในชามไม้   สำหรับชาวญี่ปุ่นถือเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจในครัวเรือน   ผู้ใดก็ตามที่มีสิทธิใช้ไม้พายผู้นั้นมีสิทธิขาดในการดูแลครัวเรือน



มีด ให้ใช้มีดที่คมกริบเสมอและเก็บไว้ให้พ้นมือเด็ก   ในการปรุงอาหารญี่ปุ่นสามารถใช้มีดธรรมดาทั่วไปได้แต่โปรดระลึกถึงเสมอว่า ให้หลีกเหลี่ยงการใช้มีดฟันเลื่อยในการหั่นเนื้อปลาเพราะใบมีดจะฉีกเนื้อปลาแทนที่จะตัดให้ขาด



แหนบ (Makisu)   แหนบปลาตัดตรงในครัวญี่ปุ่นมีไว้สำหรับดึงก้างปลา

น้ำจิ้มปรุงรสสูตรต่างๆ

น้ำจิ้มซีอิ๊ว

ซีอิ๊ว
เนยงา หรือ มัสตาร์ดญี่ปุ่นเล็กน้อย (หากชอบ)

1.น้ำจิ้มซีอิ๊วแบบญี่ปุ่น ถือว่าเป็นน้ำจิ้มพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด เมื่อเทียบกับน้ำจิ้มอื่นๆ ทั้งปวง โดยอาจจะเจือเนยงา หรือมัสตาร์ดญี่ปุ่นลงไปได้เล็กน้อย


น้ำจิ้มเม็ดงา

งาขาว 100 กรัม (3/4 ถ้วย) คั่วหรืออบ
เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
มิริน หรือสาโท 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มสายชู  2 ช้อนโต๊ะ
สาเก 2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 6 ช้อนโต๊ะ
มัสตาร์ดญี่ปุ่นที่ผสมแล้ว 1 ช้อนชา
น้ำซุป 3 ช้อนโต๊ะ (หากชอบ)

1.ผสมเครื่องปรุงทั้งหมดลงในถ้วยให้เข้ากันจนเนียนดี



น้ำจิ้มมัสตาร์ด

ซีอิ๊วขาว 60 มล. (1/4 ถ้วย)
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
ขิงสดขูดฝอย 1 ช้อนชา
มัสตาร์ดญี่ปุ่นผสมแล้ว 2 ช้อนชา

1.ผสมเครื่องปรุงทั้งหมดลงในถ้วยให้เข้ากันจนเนียนดี



น้ำจิ้มปอนชู

น้ำมะนาว 60 มล. (1/4 ถ้วย)
ซีอิ๊วขาว 60 มล. (1/4 ถ้วย)
น้ำซุป 3 ช้อนโต๊ะ
มิริน หรือสาโท 1 ช้อนโต๊ะ

1.ผสมเครื่องปรุงทั้งหมดลงในถ้วยให้เข้ากันดี



มายองเนสปรุงเอง

ไข่ 3 ฟอง
มัสตาร์ดดิจอง (มัสตาร์ดธรรมดาก็ได้) 1 ช้อนชา
เกลือและพริกไทยดำเพื่อปรุงรส
น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
กระเทียม 1 กลีบสับ
น้ำมันพืชไม่หนืดข้น 500 มล. (2 ถ้วย)

1.ใส่ไข่ มัสตาร์ด เกลือ พริกไทย น้ำมะนาว และกระเทียมสับลงในเครื่องบดอาหาร บดจนขึ้นฟู
2.ค่อยๆ ใส่น้ำมันลงไป ขณะเดินเครื่องบดอาหาร จนกระทั่งมายองเนสข้น
3.ถ่ายใส่ขวด นำแช่ตู้เย็น เพื่อใช้เมื่อต้องการ



น้ำจิ้มผักชี

กระเทียม 2 กลีบ ปอกเปลือก
เม็ดแม็คคาเดเมีย หรือ เม็ดสน 30 กรัม (1 ออนซ์)
น้ำมะนาว 1/2 - 1 ลูก (ขึ้นอยู่กับว่าลูกเล็กหรือใหญ่)
ผักชี 2 - 3 ต้น ใช้ทั้งต้นและใบ
เกลือและพริกไทยดำ
น้ำมันพืช 60 มล. (1/4 ถ้วย)

1.สับกระเทียมในเครื่องบดอาหาร ใส่เใ็ดสนหรือเม็ดแม็คคาเดเมีย น้ำมะนาว และผักชีลงไปบดให้เข้ากัน ตามด้วยเกลือและพริกไทย
2.ใส่น้ำมันลงไปทางช่องบริเวณฝาปิดเครื่องบดอาหาร เพื่อให้เหลวเนื้อเนียน แต่อย่าบดให้ละเอียดมากเกินไป
3.เทใส่ขวด ใช้ช้อนเกลี่ยให้เรียบ ใส่น้ำมันลงไปปิดหน้าบางๆ ปิดฝาให้แน่น นำแช่ตู้เย็น เก็บไว้ใช้เมื่อต้องการ

การปรุงข้าวซูชิ



บ่อยครั้งจะเรียกข้าวเจ้าญี่ปุ่นบริโภคว่าข้าวเหนียว แต่ข่าวพันธุ์ uruchi mai ไม่ใช่ข้าวเหนียว อาจจะหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เกต และมักจะมีคำว่า “โรส” ลงท้ายชื่อเช่น “แจแปน โรส” หรือ “แคลิฟอเนีย โรส” และอาจจะใช้ชื่อง่าย ๆข่างถุงว่า “ข้าวญี่ปุ่น” ข้าวซูชิก็เหมือนกับข้าวที่ปรุงเสร๊จแล้วชนิดอื่น ๆควรเก็บไว้ในภาชนะมีฝาปิดมิดชิดไม่ต้องแช่เย็น


1.ใส่ข้าวลงในชามหรือหม้อใบใหญ่ ใส่น้ำลงไปให้ท่วมข้าว ชามข้าว 1 นาที จนน้ำขุ่น แล้วเทใส่กระชอนให้ทำดังนี้ 3 -4 ครั้ง จนกว่าน้ำซาวข้าวเกือบใสจึงเทใส่กระชอน แล้วพักไว้อย่างน้อย 1 ชม.

2.ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆเช็ดคอนบุ เพื่อให้ฝุ่นละอองที่จับอยู่ออกไป อย่าพยายามเช็ดผงสียาวที่ติดอยู่ออก ใช้กรรไกรตัดคอนบุเป็น 4 ชิ้น
3.ใส่ข้าวลงในหม้อก้นหนา ใส่น้ำ และสาเกลงไปแล้ววางแผ่นคอนบุลงบนข้าว หุงข้าวโดยใช้ไฟกลางให้ตักคอนบุขึ้นก่อนที่หม้อข้าวจะเดือด เมื่อหม้อข้าวเดือดให้ลดไฟลงก่อน ปิดฝาหม้อแล้วเคี่ยวต่อไปอีก 15 นาที หรือจนกว่าน้ำจะงวดลงหมด

4.ยกหม้อข้าวลงจากเตา พักไว้ 15 นาที ใช้ไม้พายหรือทัพทีพุ้ยข้าวให้ฟู ใช้ผ้าเช็ดมือสะอาดคลุมปากหม้อ แล้วใช้ฝาหม้อปิดทับลงไป ปล่อยไว้เช่นนั้น 10 นาที เพื่อซับไอน้ำและความชื้นออกไป ละลายน้ำตาลและเกลือกับน้ำส้มสายชูลงในถ้วยที่ไม่ใช่โลหะ แผ่ข้าวให้กระจายออกไปเพื่อให้แห้งในภาชนะก้นตื้นใบใหญ่ ปากกว้างประมาณ 30 ซม. แล้วพรมส่วนน้ำส้มสายชูลงไป

5.ใช้มือหนึ่งจับพายพุ้ยข้าวเบา ๆอีกมือหนึ่งก็พัดข้าวให้เย็นลง ประมาณ 5นาที ขั้นตอนที่ทำให้ข้าวเย็นลงโดยเร็ว ถือว่าสำคัญมากเพื่อให้ข้าวซุชิมีรสชาติและเนื้อข้าวตามต้องการ

6.ใช้ผ้าเช็ดมือที่สะอาดปิดภาชนะที่ใส่ข้าวไว้ข้าวพร้อมที่จะนำไปใช้และเก็บไว้ได้ 4 ชม. อย่านำไปแช่ตู้เย็นเพราะเม็ดข้าวจะแห้งละแข็ง

เคล็ดลับในการหั่น





          


          ปกติจะหั่นเนื้อปลาและอาหารทะเลชนิดอื่นเป็นริ้วบางยาว หรือเป็นชิ้นสำหรับการปรุงซูชิและซาชิมิ
ในการหั่นปลาดิบให้ใช้มีดที่มีใบมีดยาว บาง และคมกริบ เวลาหั่นให้จับต้องตัวปลาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้ใบมีดเฉือนลงไปจังหวะเดียวอย่าเลื่อยไปมา การเสียดสีจะทำให้เนื้อปลาร้อนขึ้น แล้วใช้ใบมีดกันหรือย้ายเนื้อปลไปไว้อีกมุมหนึ่งบนเขียงหรือนำวางลงบนจารเสิร์ฟแทนที่จะใช้มือหยิบจับ เพราะจะทำให้เนื้อปลาร้อน
ตามความนิยมนั้นเนื้อปลาจะต้องหั่นให้บางที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันแสดงว่าเนื้อปลานั้นแน่น เนื้อปลายิ่งแน่นเท่าไหร่ก็ยิ่งหั่นได้บางลงมากเท่านั้น
          ในการทำ ปลาดิบ หรือ ซาซิมิ ต้องอาศัยความรวดเร็ว และ สะอาด มาก ๆ เลยนะคะ วิธีการหั่น ก็ใช่ว่าจะหั่นธรรมดา ๆ ได้เหมือนการเตรียมปลาทั่วไป มีดจะต้องคมกริบ และ หมั่นเช็ดให้แห้งตลอดเวลา เนื่องจากเนื้อปลาสดจะเสียง่าย


วิธีการหั่นเนื้อปลามี 5 แบบ
1. หั่นเป็นแผ่นแบน หรือ ฮิระ ซูคุริ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด และ เหมาะกับเนื้อปลาทุกชนิดนะคะ ปลาที่หั่นแล้วจะหนาประมาณ 1 เซ็นติเมตร หรือ ถ้าเป็นปลาที่สดและเนื้อแน่น ก็สามารถหั่นได้เป็นชิ้นบางประมาณ 3 มิลลิเมตร ก็ได้ค่ะ


          2.
หั่นเป็นแผ่นตรง หรือ ฮิกิ ซูคุริ เป็นวิธีการหั่นที่ง่ายสุดในการทำ ซาซิมิ วิธีการหั่นก็คล้าย ๆ กะแบบแรกค่ะ ต่างที่ว่า แบบแรก ตั้งมีดในการหั่นแบบเอียง ส่วนแบบที่สองตั้งมีดตรง ๆ

          3.
หั่นเป็นแผ่นบาง ๆ หรือ โซกิ ซูคุริ เป็นการหั่นให้ชิ้นปลาบางมาก ๆ โดยหั่นแบบทแยง ซึ่งเหมาะกะปลาที่เนื้อแน่น เช่น ปลากะรัง และปลาจานแดง ชิ้นปลาจะบางมากกกก ขนาดโปร่งแสงได้เลยแหละค่ะ แล้วเค้าก็จะนิยมนำมาจัดใส่จานเป็นรูปดอกเบญจมาศเสริฟพร้อม หัวผักกาดขาวขูด และ กระเทียมสับที่จะจัดวางตรงกลางเป็นเกสรดอกไม้

          4.
หั่นเป็นลุกบาศก์ หรือ คะคุ กิริ เป็นวิธีการหั่นลงเป็นแผ่นตรงให้หนาประมาณ 2-2.5 เซ็นติเมตร แล้วหั่นอีกครั้งให้เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ นิยมใช้กับการหั่นเนื้อปลาโอ หรือ ปลาอินทรี ซึ่งเป็นปลาที่มีเนื้อนุ่ม

          5.
หั่นเป็นเส้น หรือ อิโต๊ะ ซูคุริ นิยมใช้กับปลาตัวเล็กที่มีเนื้อบาง และ ปลาหมึก 

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเลือกปลาเพื่อปุรงซูชิและซาชิมิ


          สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกเพื่อนำมาปรุงซูชิและซาชิมิคือต้องใช้ปลาสดใหม่จริงๆ   หากนำปลาหรืออาหารทะเลที่ไม่สดใหม่จริงๆ มาปรุงซูชิและซาชิมิ จะทำให้ไม่อร่อย กุ้ง หอย ปู ที่สดจริงก็คือ กุ้ง หยอ ปู ที่ยังเป็นๆ ในขณะซื้อ และนำมาขังไว้จนกว่าจะปรุงเป็นอาหาร
          บล็อคนี้จะเอ่ยถึงชื่อปลา   และอาหารทะเลชนิดต่างๆ   ที่นิยมใช้ปรุงอาหารกันทั่วไปในญี่ปุ่นแต่ก็เพื่อเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น   ปลาส่วนใหญ่สามารถนำมารับประทานดิบได้ ฉะนั้นจึงขอแนะนำให้ท่านใช้ปลาสดที่หาได้ตามฤดูการมาลองปรุงดู
          แต่ก็มีกฎอยู่ว่าให้หลีกเลี่ยงการนำปลาแช่แข็งมาทำปลาดิบ   เพราะไม่เพียงแต่จะเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยเนื่องจากปลาไม่สด   แต่รสชาติและเนื้อปลาจะด้อยคุณภาพลงด้วย   จะยกเว้นก็แต่เพียงปลาทูน่าและปลาหมึกสดแช่แข็ง แบบ "เฉียบพลัน" ทันทีที่จับได้ หากแผงขายปลา   หรือซุเปอร์มาเกตรับประกันว่าปลาและปลาหมึกนั้นผ่านการแช่แข็งด้วยกรรมวิธีดังกล่าว ก็อาจจะนำมาใช้แทนปลาสดได้
          เนื้อปลาและอาหารทพเลบางชนิดจะทำให้สุกก่อนมาปรุงเป็นเป็นซูชิและซาชิมิ อาทิ กุ้ง ปูหรือกุ้งมังกร   ส่วนปลาแซลมอนนิยมชนิดรมควันหรือหมักเกลือ ปลาหมึกและปลาไหลมักจะนำไปต้มหรือหมักก่อน   สำหรับการปรุงซาชิมินั้นนิยมใช้เนื้อส่วนที่ดีที่สุด ดังเช่น จะใช้แต่เนื้อปลาหมึก (ไม่ใช้หนวด) และเนื้อปลาทูน่าส่วนที่ดีที่สุดเท่านั้น